วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การพิสูจน์สัจธรรมของอัลกุรอาน ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

การพิสูจน์สัจธรรมของอัลกุรอาน ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ดร.แกรี่ มิลเลอร์
สุกรี เส็มหมาด แปลและเรียบเรียง

วิทยาศาสตร์ที่แท้จริงซึ่งจะนำไปสู่อัลกุรอานนั้นไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้   เพราะคัมภีร์เล่มนี้นำเสนอบางสิ่งซึ่งคัมภีร์ของศาสนาอื่นไม่ได้เสนอในลักษณะที่ชี้เฉพาะลงไป วิธีการนี้เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ต่างเรียกร้องในปัจจุบัน  มีผู้คนมากมายที่มีแนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินไปของจักรวาล  กลุ่มคนเหล่านี้ค่อนข้างมีความเข้าใจในภาพรวมของสิ่งเหล่านี้

 แต่ถึงอย่างไรก็ตามในหมู่นักวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์เองนั้นกลับไม่ค่อยจะรับฟังพวกเขามากนัก  ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาเหล่านักวิทยาศาสตร์ได้เรียกร้องวิธีการที่เรียกว่า “test of falsification” (การทดสอบเพื่อหาข้อผิดพลาด) พวกเขากล่าวว่า หากคุณเสนอทฤษฎีใด ๆ ขึ้นมาทฤษฎีหนึ่ง เราจะยังคงไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่คุณบอกมา จนกว่าคุณจะสามารถหาข้อพิสูจน์ที่สมเหตุสมผลและน่าเชื่อถือมายืนยันได้ว่าทฤษฎีของคุณนั้นผิดหรือถูก?

การพิสูจน์ความจริงเช่นนี้ทำให้บรรดานักวิทยาศาสตร์รับฟังไอน์สไตน์ในช่วงต้นศตวรรษที่ผ่านมา ไอน์สไตน์ได้เสนอทฤษฎีใหม่พร้อมกับกล่าวว่า "ฉันเชื่อว่าจักรวาลทำงานเช่นนี้... (พร้อมกับเสนอว่า) และนี่คือแนวทางสามประการที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่าฉันผิด!...ดังนั้นเหล่านักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดสอบทฤษฎีของเขา และภายในหกปีทฤษฏีของเขาก็ผ่านการทดสอบทั้งสามข้อ แน่นอนวิธีการของเขาเช่นนี้ไม่ได้ต้องการพิสูจน์ว่าเขาเป็นผู้ยิ่งใหญ่ แต่เป็นการยืนยันว่าควรจะรับฟังความเห็นของเขา ทั้งนี้เพราะเขากล่าวว่า สิ่งนี้เป็นความคิดเห็นของฉัน และหากพวกคุณต้องการจะพิสูจน์ว่าฉันพูดผิด ก็จงทำวิธีอย่างนี้หรือไม่ก็ทดสอบอย่างนั้น"

แท้จริงแล้ว นี่เป็นการท้าทายหาข้อผิดพลาดของคัมภีร์อัลกุรอาน (“falsification tests”) บางอย่างได้รับการพิสูจน์มาแล้ว และบางอย่างก็ยังคงต้องรอการพิสูจน์อยู่จนถึงทุกวันนี้ โดยพื้นฐานแล้ว "หากคัมภีร์เล่มนี้ยังไม่ได้แสดงสิ่งใดดังที่กล่าวอ้างเอาไว้, คุณก็ควรจะทำสิ่งนี้ หรือสิ่งนั้น หรืออย่างนี้ เพื่อที่คุณจะได้พิสูจน์ว่าอัลกุรอานนั้นมีความผิดพลาดแต่เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าในช่วงเวลากว่า 1,400 ปี ที่ผ่านมากลับยังไม่มีใครสักคนที่สามารถจะทำหรือแสดง "สิ่งนี้ หรือ สิ่งนั้น หรืออย่างนี้" ตามคำท้าทายนั้นได้เลย เพราะฉะนั้นคัมภีร์อัลกุรอานจึงยังคงถูกต้องและเป็นจริงอยู่ต่อไป

การทดสอบเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นความจริง
เราขอแนะนำท่านว่า หากวันหนึ่งมีใครมาโต้เถียงกับท่านเกี่ยวกับอิสลาม และเขาอ้างว่าเขาครอบครองสัจธรรมและกล่าวว่าท่านนั้นกำลังอยู่ในความมืดมน  แรกสุดคุณต้องยุติข้อขัดแย้งอื่นๆทั้งหมดเสียก่อน แล้วทำตามคำแนะนำดังนี้ จงถามเขากลับไปว่า "ในศาสนาของท่าน มีการทดสอบด้วยหลักการ พิสูจน์ว่าจริงเท็จ(falsification test) ใดๆ หรือไม่ ? และถ้ามีในสิ่งเหล่านั้น ถ้าสมมติฉันสามารถพิสูจน์ด้วยหลักการนี้ได้ว่ามันผิด คุณจะยังคงยืนหยัดกับสิ่งนั้นอยู่อีกหรือไม่ ?”  ถึงตอนนี้แน่นอนข้าพเจ้าสามารถยืนยันได้เลยว่าพวกเขาเหล่านั้นไม่มีสิ่งใด ไม่เคยมีการตรวจสอบ ไม่เคยมีการพิสูจน์ลักษณะนี้อย่างแน่นอน ! ทั้งนี้เพราะว่าพวกเขาเหล่านั้น ไม่ได้คิดว่า พวกเขาไม่ควรที่จะนำเสนอแค่เฉพาะสิ่งที่พวกเขาเชื่อเท่านั้น แต่ควรจะเปิดโอกาสให้มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงอีกด้วย แต่อิสลามกลับเสนอสิ่งนี้

ตัวอย่างอันยอดเยี่ยมที่แสดงให้เห็นว่าอิสลามเปิดโอกาสให้มนุษย์พิสูจน์ถึงความแท้จริงและถูกต้องของคัมภีร์อัลกุรอาน และ ท้าทายให้หาข้อผิดพลาด ดังปรากฏอยู่ในบทที่ 4 ของคัมภีร์เล่มนี้, และด้วยความบริสุทธิ์ใจ ข้าพเจ้า (ดร.แกรี่ มิลเลอร์) รู้สึกประหลาดใจเป็นอย่างยิ่งในครั้งแรกที่ได้มาพบกับการท้าทายนี้ ซึ่งกล่าวว่า: 

"พวกเขาไม่พิจารณาดูอัลกุรอานบ้างหรือ ?  และหากมันมาจากผู้อื่นนอกจากอัลลอฮฺแล้ว, แน่นอนพวกเขาก็จะได้พบกับความขัดแย้งอันมากมายในนั้น" (บทอัน-นิสาอฺ, 4:82):

            นี่คือการท้าทายอย่างชัดแจ้งต่อผู้ไม่ใช่มุสลิม โดยพื้นฐานแล้ว คัมภีร์เล่มนี้ได้เชิญชวนให้พวกเขาค้นหาข้อผิดพลาดในนั้น แต่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น กลับเป็นการท้าทายที่สาหัสและยากยิ่งสำหรับพวกเขา เราจะเห็นว่าลักษณะการนำเสนอโดยการท้าทายอย่างองอาจเช่นนี้ โดยพื้นฐานแล้ว เราไม่อาจจะพบได้ในธรรมชาติของความเป็นมนุษย์และยังไม่สอดคล้องกับบุคลิกภาพของคนโดยทั่วไป ดังเช่นนักเรียนคนหนึ่งที่หลังจากการสอบสิ้นสุดลง เขาก็ได้เขียนข้อความสั้น ๆ ไปท้าทายอาจารย์ผู้สอนว่า "การสอบครั้งนี้สมบูรณ์ ไม่มีข้อผิดพลาดใดๆเลยในข้อสอบนี้ ลองหาข้อผิดพลาดมาสักข้อหากว่าอาจารย์ทำได้ !แน่นอนอาจารย์ผู้ถูกท้าท่านนั้นจะไม่หลับไม่นอนเป็นแน่ จนกว่าจะค้นพบข้อผิดพลาดนั้น! และด้วยลักษณะ (การท้าทาย)เดียวกันนี้เองที่อัลกุรอานใช้กับมนุษย์


  ดร.แกรี่ มิลเลอร์เป็นมิชชันนารีคริสต์ที่เปลี่ยนมารับอิสลามในปี 1978 ปัจจุบันเขาเป็นนักการศาสนาและนักเผยแพร่อิสลามชื่อเสียงโด่งดังมาก เนื่องจากดร.มิลเลอร์เป็นนักคณิตศาสตร์ ตรรกะและเหตุผลจึงสำคัญมากสำหรับเขา และเขาได้นำความรู้เหล่านี้มาประยุกต์เมื่อหยิบเอาอายะฮ์ต่างๆ ในอัล-กุรอานขึ้นมาอธิบาย แบบง่ายๆ แต่น่าทึ่ง มีเหตุผลรองรับสอดคล้องกันไปหมด หนังสือเล่มสำคัญของเขาคือ มหัศจรรย์แห่งอัล-กุรอาน (The Miracle of Quran) ขายดีติดอันดับตลอดกาลของหนังสืออิสลาม

ที่มา  http://www.ansorimas200.blogspot.com/2013/07/blog-post_21.html?m=1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น